แรงกิริยาและปฏิกิริยา
เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุหนึ่ง
วัตถุนั้นจะออกแรงโต้ตอบในทิศตรงกันข้ามกับแรงที่มากระทำ
แรงทั้งสองนี้เกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ เราเรียกแรงที่มากระทำต่อวัตถุว่า “แรงกิริยา”
(Action Force) และเรียกแรงที่วัตถุโต้ตอบต่อแรงที่มากระทำว่า “แรงปฏิกิริยา” (Reaction Force) และแรงทั้งสองนี้รวมเรียกว่า “แรงคู่กิริยา – ปฏิกิริยา”
(Action – Reaction Pair)
แรงกิริยา คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่จุด
ๆ หนึ่ง อาจเป็นแรงเพียงแรงเดียวหรือแรงลัพธ์ของแรงก็ได้
เช่น
การออกแรงกดโต๊ะ การออกแรง เตะลูกฟุตบอล น้ำหนักของวัตถุก็เป็นแรงกิริยาแบบหนึ่งที่โลกออกแรงดึงดูดวัตถุให้เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่กระทำตอบโต้ต่อแรงกิริยาที่จุดเดียวกัน
โดยมีขนาดเท่ากับแรงกริยาแต่ทิศทางตรงกันข้าม เช่น รถชนสุนัข แรงกริยา คือ
แรงที่รถกระทำกับสุนัข และ แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่สุนัขกระทำกับรถ เมื่อเราออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริง
เราจะรู้สึกว่าเครื่องชั่งสปริงก็ดึงมือเราด้วยและยิ่งเรา
ออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริงด้วยแรงมากขึ้นเท่าใดเราก็จะรู้สึกว่าเครื่องชั่งสปริงยิ่งดึงมือเราไปมากขึ้นเท่านั้น
ที่มา : https://socratic.org/questions/do-action-and-reaction-pairs-of-forces-balance-one-another
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=7tPOec4-0BQ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น